เสียงจากพิพิธภัณฑ์อิสลามในพื้นที่ชายแดนใต้: การปกป้องอัตลักษณ์มลายูมุสลิมโดยใช้แนวทางสันติวิธี

Imron yasmin

เสียงจากพิพิธภัณฑ์อิสลามในพื้นที่ชายแดนใต้:

การปกป้องอัตลักษณ์มลายูมุสลิมโดยใช้แนวทางสันติวิธี

Voices from the Islamic Museum in the Southern Border Provinces of Thailand:

Safeguarding Melayu Muslim Identity through Nonviolent Means

 

อิมรอน ซาเหาะ[1]

ยาสมิน ซัตตาร์[2]                                       

 

บทคัดย่อ

          บทความเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการพัฒนาศักยภาพพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน จังหวัดนราธิวาสสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนใต้ ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยงานชิ้นนี้ต้องการอภิปรายประเด็นพิพิธภัณฑ์อิสลามในพื้นที่ชายแดนใต้กับการปกป้องอัตลักษณ์มลายูมุสลิมโดยใช้แนวทางสันติวิธี งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลผ่านการศึกษาเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมสนทนากลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า ในพื้นที่ชายแดนใต้มีองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อิสลามในภูมิภาคนูซันตาราจำนวนมาก การผนวกเอาข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อนำมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบพร้อมการนำเอาเทคโนโลยีที่น่าสนใจมาทำให้เกิดพิพิธภัณฑ์รวบรวมเอกสารโบราณ ตลอดจนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการประวัติศาสตร์ในพื้นที่ยังพบไม่มากนัก พิพิธภัณฑ์อิสลามอำเภอยี่งอจึงเป็นความพยายามแรกที่พบในพื้นที่ ที่จะมีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของพื้นที่ชายแดนใต้ได้ โดยการสนับสนุนพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอานของกรมศิลปากรนับได้ว่าเป็นการส่งเสริมให้คนในพื้นที่ชายแดนใต้ปกป้องและรักษาอัตลักษณ์ของตนเองโดยใช้แนวทางสันติวิธี ทั้งนี้ ภาครัฐควรสนับสนุนการปกป้องอัตลักษณ์โดยใช้สันติวิธีในรูปแบบอื่นๆ ด้วย จึงสามารถหนุนเสริมให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนในอนาคตได้

 

ที่มา การประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 15


[1] สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, imron.s@psu.ac.th

[2] ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, yasmin.s@psu.ac.th