ทิศทางกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้จากมุมมองของประชาชน

fareeda

ทิศทางกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้จากมุมมองของประชาชน

 

พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

อัมพร หมาดเด็น คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฟารีดา ปันจอร์ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพของประชาชนในพื้นที่ความขัดแย้งผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (Peace Survey) พ.ศ.2566 ในมิติความสัมพันธ์เชิงอำนาจระดับต่างๆ  ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการสันติภาพเผชิญกับภาวะท้าทายเมื่อแนวคิดเชิงวิพากษ์มีพื้นที่จำกัดในงานเชิงนโยบาย ข้อเสนอของงานวิจัยนี้สะท้อนความสำคัญของการขยายพื้นที่ทางความคิด การมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพหลากมิติ และการมีอยู่ของตัวตนของผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประชาชนในภาคส่วนต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนและเชื่อมั่นว่ากระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะสามารถดำเนินได้อย่างอิสระและปลอดภัย ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในช่วงการเลือกตั้งที่สัมพันธ์กับความหวังของประชาชนต่อความคืบหน้าในการพูดคุยสันติภาพ ขณะที่ความท้าทายสำคัญจากมุมมองของประชาชนคือ ขาดผลลัพธ์ในกระบวนการพูดคุยที่เป็นรูปธรรมกระทั่งส่งผลให้ยังไม่สามารถยุติความรุนแรงได้อย่างแท้จริง

ที่มา วารสารสถาบันพระปกเกล้า