การแปรเปลี่ยนจากการใช้ความรุนแรงสู่วิถีทางการเมืองของอดีตกองกำลังแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานีกับความท้าทายของการต่อสู้ในระบบประชาธิปไตยของประเทศไทย

Imron-Yasmin

การแปรเปลี่ยนจากการใช้ความรุนแรงสู่วิถีทางการเมืองของอดีตกองกำลังแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานีกับความท้าทายของการต่อสู้ในระบบประชาธิปไตยของประเทศไทย

โดย

อิมรอน ซาเหาะ  สถานวิจัยความขัดแย้งฯ (CSCD) สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผศ.ดร.ยาสมิน ซัตตาร์  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์    

                  

บทคัดย่อ

          บทความเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การแปรเปลี่ยนจากการใช้ความรุนแรงสู่การใช้แนวทางทางการเมืองของกลุ่มผู้เห็นต่างในพื้นที่ชายแดนใต้” ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานชิ้นนี้ต้องการอภิปรายประเด็นการแปรเปลี่ยนจากการใช้ความรุนแรงสู่การใช้แนวทางทางการเมืองของอดีตกองกำลังแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานีกับความท้าทายของการต่อสู้ในระบบการเมืองการเลือกตั้งของประเทศไทย งานชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลผ่านการศึกษาเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึกของอดีตกองกำลังแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี หรือ BRN โดยใช้ตลอดจนเทคนิคการวิจัยแบบศึกษาประวัติชีวิต (Life History) ผลการศึกษาพบว่าการยุติการใช้ความรุนแรงของอดีตนักรบพบว่าในกระบวนการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งจากการใช้ความรุนแรงสู่การไม่ใช้ความรุนแรงจำเป็นต้องมองทั้งในระดับบุคคลและความสัมพันธ์เชิงวัฒนธรรมและเชิงโครงสร้าง ทั้งนี้ มีข้อท้าทายหลายประการที่ทำให้การแปรเปลี่ยนในเชิงโครงสร้างไม่สามารถก้าวไปได้มากนัก โดยเฉพาะแนวทางที่ไม่ชัดเจนของรัฐบาลไทยที่มีต่อกระบวนการพูดคุยและแนวทางจัดการความขัดแย้งในพื้นที่ยังคงมุ่งเน้นแนวทางทางการทหารเป็นหลัก รวมถึงความไม่เป็นเอกภาพของกลุ่มองค์กรที่ต่อสู้กลุ่มต่างๆ นอกจากนี้การแปรเปลี่ยนมาต่อสู้ในพื้นที่ทางการเมืองของอดีตนักรบในระบบประชาธิปไตยของประเทศไทยในปัจจุบันก็ต้องเผชิญกับข้อท้าทายหลากหลายประการทั้งพื้นที่การเมืองในระดับท้องถิ่นตลอดจนการเมืองในระดับชาติ

 

ที่มา เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24 (KPI Congress) ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย