การสื่อสารจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ชายแดนใต้ในชุมชนเชิงกายภาพและชุมชนออนไลน์ภายใต้ภาวการณ์ระบาดของโควิด-19
ยาสมิน ซัตตาร์
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สมัชชา นิลปัทม์
คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อิมรอน ซาเหาะ
สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวในการสื่อสารของกลุ่มคนรุ่นใหม่/เยาวชนชายแดนใต้ใน ชุมชนกายภาพและชุมชนออนไลน์ภายใต้ภาวะกรระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดจนเพื่อพัฒนารูปแบบของกลไก การใช้การสื่อสารเชิงรุกในชุมชนและชุมชนออนไลน์ของคนรุ่นใหม่/เยาวชนในพื้นที่ชายแดนใต้ ที่จะสามารถใช้ ในการหนุนเสริมการทำงานของชุมชนในการป้องกันการแพร่ของโรคระบาดและแสวงหาความเป็นไปได้ในการใช้ กลไกนี้ภายใต้ภาวะความปกติแบบใหม่ งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ใช้วิธีการศึกษาผ่านงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสัมภาษณ์ชิงลึกผู้ให้ข้อมูลจำนวน 9 คน จาก 3 กลุ่ม ประกอบด้วย The Motive, MUSLIMITED และกลุ่มคนรุ่นหม่ในพื้นที่บันนังสตา ประกอบกับการจัดสนทนากลุ่มร่วมกับตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับงานสื่อสารใน ระดับพื้นที่ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับตัวอย่างและองค์กรสื่อในพื้นที่ ชายแดนใต้ การวิเคราะห์ข้อมูลได้ดำเนินการตามกรอบแนวคิดการสื่อสารในภาวะวิกฤต ผลการศึกษาพบว่า เยาวชนคนรุ่นใหม่สามารถมีบทบาทหนุนเสริมการสื่อสารในภาวะวิกฤตอย่างเรื่องโรคระบาดได้โดยเฉพาะในรูปแบบ ออนไลน์ รูปแบบการสื่อสารในชุมชนจากกลุ่มคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มจะเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลาย มีการตรวจสอบ ข้อมูลลวงหรือข่าวลือที่เกิดขึ้นในภาวะการเกิดโรคระบาด แล้วนำไปสื่อสารด้วยรูปแบบที่สร้างสรรค์ต่อทั้งในชุมชน เชิงกายภาพและชุมชนออนไลน์ได้ แม้ว่าจะเห็นบทบาทของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ปรากฎ อยู่บ้างในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่ยังไม่พบกลไกรองรับที่เป็นระบบเมื่อเกิดภาวะวิกฤต ดังนั้น ชุมชนและองค์กรสื่อในพื้นที่ชายแดนใต้ควรมีมาตรการรับมือในภาวะวิกฤตและมีกลไกที่ชัดเจนในการให้ ทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งจะทำให้มีกลไกเสริมหากกลไกการสื่อสารของรัฐไม่ สามารถทำงานได้ในกรณีเกิดวิกฤต และทำงานหนุนเสริมในกรณีที่กลไกของรัฐในภาวะวิกฤตเริ่มเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งในมิติของชุมชนจำเป็นที่จะต้องผ่านการออกแบบจากคนในชุมชนเอง
ที่มา Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia (JSHRA)