ริชวะฮ์กับการเลือกตั้ง: จากหลักการอิสลามสู่ปรากฏการณ์ในสังคมมลายูมุสลิมชายแดนใต้

Imron

ริชวะฮ์กับการเลือกตั้ง: จากหลักการอิสลามสู่ปรากฏการณ์ในสังคมมลายูมุสลิมชายแดนใต้

 

อิมรอน ซาเหาะ

สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ยาสมิน ซัตตาร์ คณะรัฐศาสตร์

 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อับดุลเอาว์วัล สิดิ

โครงการมะดีนะตุสสลาม มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

 

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องพลวัตความเคลื่อนไหวของนักการเมืองมลายูมุสลิมท่ามกลางความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยงานชิ้นนี้ต้องการอภิปรายประเด็นริชวะฮ์หรือการให้สินน้ำใจหรือสินบนหรือการซื้อสิทธิขายเสียงกับการเลือกตั้งในพื้นที่ชายแดนใต้/ปาตานี งานชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลผ่านการศึกษาเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึกนักการเมืองในพื้นที่ชายแดนใต้ หัวคะแนนหรือผู้ช่วยหาเสียงของนักการเมือง ตลอดจนนักวิชาการและผู้นำศาสนา ผลการศึกษาพบว่าในพื้นที่ชายแดนใต้การให้สินบนหรือการซื้อเสียงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการกำหนดผลแพ้ชนะของการเลือกตั้งในแต่ละเขต หลักการศาสนาจึงถูกนำมาอธิบายถึงความชอบธรรมในการให้สินน้ำใจ และพยายามอธิบายว่าไม่เข้าข่ายริชวะฮ์ งานชิ้นนี้ได้ข้อสรุปว่าแม้ว่าในตัวบทของหลักการจะไม่เป็นที่อนุญาต แต่ในการปฏิบัติจริงมักจะมีการเลี่ยงบาลีเพื่ออ้างความชอบธรรมของการจ่ายริชวะฮ์อยู่จนเป็นแนวปฏิบัติทั่วไปในสังคม ด้วยหลักคิดที่ว่าหากสามารถเข้าสู่พื้นที่การเมืองได้แล้วจะเป็นประโยชน์มากกว่า ประกอบกับค่านิยมทั่วไปในสังคมยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

 

ที่มา วารสารวาระการเมืองและสังคม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์