ภาษา ถ้อยคำและอำนาจในทัศนะของมิเชล ฟูโกต์กับการศึกษาเรื่องการเมือง สันติภาพและความขัดแย้งในสถานการณ์ปัจจุบันจังหวัดชายแดนภาคใต้

Aj.Sri

ภาษา ถ้อยคำและอำนาจในทัศนะของมิเชล ฟูโกต์กับการศึกษาเรื่องการเมือง สันติภาพ

และความขัดแย้งในสถานการณ์ปัจจุบันจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

 โดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

บทคัดย่อ

มิเชล ฟูโกต์ได้อธิบายการทำงานที่ซับซ้อนของภาษาและอำนาจโดยอธิบายกระบวนการแปรเปลี่ยนจากคำพูด ถ้อยแถลงและบทสนทนาไปสู่การสร้างอำนาจ ภาษาจึงผ่านการต่อสู้และเครือข่ายความสัมพันธ์ของถ้อยคำและถ้อยแถลงในสนามที่เรียกว่า อุบัติการณ์ของภาษา ทำให้วัตถุทางภาษาและวาทกรรมมีอำนาจในโลกแห่งปฏิบัติการ จุดสำคัญของแนวคิดนี้จึงอยู่ที่การมองว่าอำนาจภาษาไม่ใช่อยู่ที่ผู้พูดและองค์ประธานของถ้อยแถลงเท่านั้น แต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกันของถ้อยแถลง รวมทั้งสิ่งที่เรียกว่าสนามหรือพื้นที่ที่ภาษาอุบัติขึ้นและคลี่คลายขยายตัวไป ในการนี้ วัตถุของภาษาหรือวาทกรรมเกิดขึ้น ทับซ้อนกัน เชื่อกันและขัดกัน และในที่สุดเกิดการแปรเปลี่ยนไปพร้อมกันของวัตถุทางภาษาเหล่านี้ในสนามของวาทกรรมและการปฏิสัมพันธ์ จากนั้น เราจึงอธิบายว่าอำนาจกระจายกันอยู่คล้ายกับภาษาไม่มีเจ้าของแต่มีความตั้งใจ และที่ใดมีอำนาจที่นั่นมีการต่อต้าน พัฒนาการคำพูดและภาษาทางนโยบายการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้สอดคล้องกับคำอธิบายนี้ การต่อสู้ในเรื่องถ้อยคำและภาษาในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีอยู่ตราบจนปัจจุบัน

 

ที่มา วารสารวาระการเมืองและสังคม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์