บทความว่าด้วยเรื่องนักการเมืองมลายูมุสลิมฯ ในหนังสือความมั่นคงบนรอยร้าวฯ
โดย อิมรอน ซาเหาะ และ ดร.ยาสมิน ซัตตาร์, (ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, บรรณาธิการ)
ความมั่นคงบนรอยร้าว: ประวัติศาสตร์ กฎหมาย และผู้คนในพลวัตความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นหนังสือที่รวบรวม 8 บทความ จากงานวิจัยโครงการ "กรอบงานวิจัยประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ ลำดับที่ 13 ในเรื่อง "จังหวัดชายแดนใต้" (SRI13)
บางส่วนจากบทนำ “ความขัดแย้งกว่าทศวรรษที่ผ่านมาก็ได้ดึงให้นักการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในวังวนความขัดแย้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังในการศึกษาเรื่อง “พลวัตความเคลื่อนไหวของนักการเมืองมลายูมุสลิมท่ามกลางความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้” ของ อิมรอน ซาเหาะ และยาสมิน ซัตตาร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การทำความเข้าใจความสลับซับซ้อนของปมเงื่อนต่างๆ จำเป็นที่จะต้องมองผ่านพลวัตของ “ผู้กระทำการ” ในพื้นที่เพื่อที่จะทำให้เห็นถึงมิติต่างๆ ที่ซ้อนทับกันในแต่ละช่วงจังหวะของเวลา ความพยายามแกะรอยความเปลี่ยนแปลงของ “ผู้กระทำการ” กลุ่มหนึ่งที่เสนอตัวเข้ามาทำงานเป็น “นักการเมือง” ผ่านระบบการเลือกตั้ง เป็นการศึกษาที่มีความหมายและมีความสำคัญ เพราะเป็นการทำความเข้าใจการเชื่อมต่อระหว่าง “ผู้กระทำการ” กับ คนในพื้นที่ และพื้นที่ทางการเมืองของสังคม การศึกษาลักษณะนี้จะทำให้เห็นได้ชัดเจนขึ้นภายในเงื่อนไขความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจของพลเมืองในพื้นที่ ได้กลายเป็นเงื่อนไขที่กำหนดให้ “นักการเมือง” ต้องเลือกคิดและเสนอตัวให้เหมาะสมกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนโดยเฉพาะภายใต้สถานความรุนแรงที่คุกรุ่นตลอดเวลา “นักการเมือง” ที่สามารถชนะการเลือกตั้งมาได้ย่อมสามารถสร้าง “ข้อเสนอ” บางประการที่ถูกกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของพลเมืองผู้ออกเสียงเลือกพวกเขา”
ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ บรรณาธิการ
“หนังสือเล่มนี้ทำหน้าที่สำคัญในการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ และเสนอแนะแนวทางที่พอจะมองเห็นและเป็นไปได้ แต่ทางเลือก/ทางออกของปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ขึ้นอยู่กับพลังทางสังคมทั้งหมด”
ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ บรรณาธิการ
ผ่านไปสิบกว่าปีของปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ความเนิ่นนานที่ทำให้สังคมไทยเริ่มชินชา และเพิกเฉย อาจถึงเวลาแล้วที่เราจะกลับมาลืมตามองปัญหา และให้ความสนใจเรื่องนี้อีกครั้ง
สั่งซื้อได้ที่