ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในงานสัมมนาวิชาการว่าด้วยเรื่อง “ชายแดนใต้: พื้นที่ ผู้คน และข้อเสนอเชิงนโยบาย”

สกสว.

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา นายอิมรอน ซาเหาะ จากสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย ดร.ยาสมิน ซัตตาร์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมนำเสนอผลการศึกษาโครงการวิจัยเรื่อง “พลวัตความเคลื่อนไหวของนักการเมืองมลายูมุสลิมท่ามกลางความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้” ในงานสัมมนาวิชาการว่าด้วยเรื่อง “ชายแดนใต้: พื้นที่ ผู้คน และข้อเสนอเชิงนโยบาย” รายงานวิจัยภายใต้ชุดโครงการงานวิจัยประเด็นวิจัยเชิงยุทธศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ (SRI 13) จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ณ ห้องประชุม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพฯ

โดยภายในงานมีผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อีก 2 โครงการวิจัย ได้แก่ โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษากลไกทางกฎหมายเพื่อการกลับคืนสู่สังคม ของกองกำลังติดอาวุธในจังหวัดชายแดนใต้ ผ่านการศึกษาเปรียบเทียบกับกลไกของอาเจะฮ์และมินดาเนา” โดย ผศ.สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ จากคณะนิติศาสตร์ และโครงการวิจัยเรื่อง “บทบาทผู้นำศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างชาวมุสลิมและชาวพุทธในสามจังหวัดชายแดนใต้” โดย รศ.ดร.ปัญญา เทพสิงห์ จากคณะศิลปศาสตร์

นอกจากนั้นยังมีผลงานวิจัยอีกหลายโครงการที่น่าสนใจ เช่น โครงการวิจัยเรื่อง “การเมืองของความขัดแย้งชายแดนใต้/ปาตานี : ทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงความเป็นการเมืองในห้วง 15 ปีของความรุนแรง” โดย คุณ​รอมฎอน ปันจอร์ จาก Deep South watch โครงการวิจัย เรื่อง “สานฝันปาตานีโดยไม่ใช้ความรุนแรง: การวิเคราะห์จากบทสนทนาเพื่อสร้างจินตนาการใหม่” โดย รศ.ดร.มารค ตามไท โครงการวิจัยเรื่อง “ความคิด และปฏิบัติการทางการเมืองของผู้คนในพื้นที่สีแดง” โดย อ.อาทิตย์ ทองอินทร์ และ คุณ​ตูแวดานียา ตูแวแมแง โครงการวิจัยเรื่อง “ทบทวนประวัติศาสตร์ปัต (ปา) ตานี : มุมมองที่แตกต่างหลากหลาย” โดย ผศ.ดร.อรอนงค์ ทิพย์พิมล โครงการวิจัยเรื่อง “กฎหมายความมั่นคงและการบังคับใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้และพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา” โดย ดร.กัลยา แซ่อั้ง และ ผศ.ดร.มาโนชญ์ อารี และ โครงการวิจัยเรื่อง “สันติศึกษาในพื้นที่ความขัดแย้งและความรุนแรง: กรณีศึกษาความเป็นไปได้ของพิพิธภัณฑ์สันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” โดย คุณ​ภัทรภร ภู่ทอง

โดยช่วงท้ายของงานสัมมนามีการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายจากงานวิจัย โดย ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และ คุณดนัย มู่สา ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการสัมมนา ได้ที่ https://bit.ly/3nszRtH

รับชมย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/user/sacvdochannel

ขอบคุณรูปภาพจาก ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร - SAC