แนะนำโครงการ
การสำรวจความคิดเห็นประชาชน
ต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้
(PEACE SURVEY)
1. หลักการและเหตุผล
กระบวนการพูดคุยสันติสุขระหว่างคณะพูดคุยสันติสุขของรัฐบาลกับกลุ่มผู้มีความเห็นแตกต่างจากรัฐที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องโดยถือเป็นวาระเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้ภาพใหญ่ของความพยายามสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่ดังที่ปรากฏอย่างเป็นทางการต่อสาธารณะ ถือเป็นมิติใหม่ของการแก้ไขปัญหาที่มุ่งใช้สันติวิธีอย่างเป็นรูปธรรม โดยตั้งอยู่บนฐานคิดที่จะทำความเข้าใจถึงมุมมองและความต้องการของกันและกันเพื่อปูทางสู่หาแสวงหาทางออกที่พอยอมรับกันได้ ซึ่งการที่กระบวนการพูดคุยจะสามารถดำเนินไปจนนำไปสู่ทางทางออกดังกล่าวได้นั้น นอกเหนือจากการทำงานร่วมกันของคู่ขัดแย้งหลักแล้ว ผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหายังจำเป็นที่จะต้องรับฟังเสียงของประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่จะทำให้ “กระบวนการ” และ “สาระสำคัญ” ที่ตกลงกันมีความชอบธรรมและยั่งยืน
ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาของความขัดแย้งที่ยืดเยื้อนี้ ทั้งรัฐบาลและกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ รวมถึงองค์กรภาคประชาสังคม ต่างก็ทำงานเพื่อสะท้อนเสียงของประชาชน โดยยึดถือความต้องการของประชาชนเป็นหลักในการขับเคลื่อนสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่คำถามสำคัญที่ตามมาคือ แท้จริงแล้ว ประชาชนที่ถูกกล่าวถึงนั้น คิดอย่างไรต่อกระบวนการสันติภาพที่เกิดขึ้น ด้วยความเชื่ออย่างแน่วแน่เช่นเดียวกับรัฐบาล และองค์กรประชาสังคมต่างๆว่า เสียงของประชาชนจะเป็นปัจจัยที่กำหนดว่ากระบวนการสันติภาพจะดำเนินไปในทิศทางใด มีความต่อเนื่องหรือไม่ และข้อตกลงที่จะได้จะมีความยั่งยืนหรือไม่อย่างไร
สถาบันพระปกเกล้าโดยสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล ร่วมกับเครือข่ายวิชาการ PEACE SURVEY 24 องค์กร จึงได้มีแนวคิดที่จะสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องมา 4 ครั้ง เพื่อให้กระบวนการสันติภาพดำเนินไปในทิศทางที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนที่เกี่ยวข้องและอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง อันเป็นการใช้ข้อมูลความรู้มิใช่อารมณ์ความรู้สึกเป็นฐานในการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง ทั้งนี้ การสำรวจครั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันในรูปของเครือข่ายที่ครอบคลุมกลุ่มมีส่วนได้เสียทั้งจากภาครัฐและภาคประชาชนทุกกลุ่มวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดการยอมรับจากทุกฝ่ายและสามารถนำผลที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาในแต่ละห้วงเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
สำหรับการสำรวจความความคิดเห็นประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 5 ได้มีเครือข่ายในการเข้าร่วมการสำรวจเพิ่มอีก 2 เครือข่าย ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายวิชาการ PEACE SURVEY จึงมีสมาชิกในเครือข่ายทั้งสิ้น 21 องค์กร
ช่วงเวลาการสำรวจครั้งที่ 1 – 5
การสำรวจ |
ช่วงเวลา |
จำนวนกลุ่มตัวอย่าง (คน) |
|
|
|
ประชาชนทั่วไป |
ผู้นำความคิด* |
ครั้งที่ 1 |
8 กุมภาพันธ์ – 13 มีนาคม 2559 |
1,559 |
48 |
ครั้งที่ 2 |
15 กรกฎาคม – 22 สิงหาคม 2559 |
1,570 |
110 |
ครั้งที่ 3 |
10 เมษายน – 22 พฤษภาคม 2560 |
1,586 |
257 |
ครั้งที่ 4 |
1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2561 |
1,609 |
201 |
ครั้งที่ 5 |
11 กันยายน – 15 ตุลาคม 2562 |
1,637 |
220 |
*วิธีการเลือกกลุ่มผู้นำความคิด ใช้วิธีการแบบเจาะจง
โดยการสำรวจทั้ง 5 ครั้งได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประชาชนทั่วไป และกลุ่มผู้นำความคิด
ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการเก็บข้อมูลทั้ง 5 ครั้งที่ผ่านมา ในส่วนของกลุ่มประชาชนทั่วไปนั้น จะใช้กระบวนการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (systematic random sampling) ตามหลักความน่าจะเป็นทางสถิติ ลงถึงระดับครัวเรือน ซึ่งจะทำให้ประชาชนทุกคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และอีกสี่อำเภอในจังหวัดสงขลาคือ เทพา นาทวี จะนะ และสะบ้าย้อย มีโอกาสถูกสุ่มเป็นตัวแทนอย่างเท่าเทียมกัน ในส่วนของกลุ่มผู้นำความคิดนั้น จะใช้กระบวนการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling)
โดยองค์กรเครือข่ายหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การทำให้เสียงประชาชนที่ถูกสุ่มโดยปราศจากอคติบนพื้นฐานของหลักวิชาทางสถิติดังกล่าวเป็นที่ปรากฏรับรู้ต่อสังคมวงกว้าง จะเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมให้ประชาชนมีพลังในการกำหนดทิศทางของกระบวนการสันติภาพมากขึ้น ตามที่ทุกฝ่ายต่างเน้นย้ำอยู่เสมอว่าคำตอบอยู่ที่ประชาชน
2. วัตถุประสงค์
- เพื่อรับทราบข้อคิดเห็นและพัฒนาการทางความคิดของกลุ่มตัวอย่างประชาชนทั้งไทยพุทธและมลายูมุสลิมในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลาในอำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย ที่มีต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี
- เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพได้มีข้อมูลทางวิชาการที่สะท้อนเสียงความต้องการของประชาชนในการประกอบการตัดสินใจ
- เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้สะท้อนมุมมองและความต้องการต่อผู้เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพ
3. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
4. องค์กรเครือข่าย 24 องค์กร
ประกอบด้วยสถาบันวิชาการและองค์กรภาคประชาชนจากทั้งในและนอกพื้นที่ ดังนี้
- สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
- สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
- คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
- ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการสื่อสารสันติภาพ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
- สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
- สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
- สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- สภาประชาสังคมชายแดนใต้
- ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
- ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ
- ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ
- เครือข่ายชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา
- วิทยาลัยประชาชน