การเสริมสร้างแนวทางสมานฉันท์เพื่อการพัฒนาชายแดนใต้อย่างยืน
นโยบายความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ผ่านความเปลี่ยนแปลงและพัฒนามาเป็นเวลายาวนาน แต่จุดที่สำคัญก็คือการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งมีการปรับนโยบายในสมัยรัฐบาลทักษิณ ต่อมาก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบระหว่างปี พ.ศ. 2547 จนถึงปี 2559 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆหลายครั้ง เพราะสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลที่เกิดตามมาก็คือการเกิดกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ในปี พ.ศ. 2551 และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ในปี พ.ศ. 2553 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากอีกครั้งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2557 คือ การเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดขึ้นจากคำประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 98/2557 เรื่องการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อันมีผลทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายไปสู่แนวทางยุทธศาสตร์สันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ในระดับนโยบาย ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติและระดับหน่วยปฏิบัติซึ่งได้อยู่ในระหว่างดำเนินการในปัจจุบัน
หัวใจสำคัญของนโยบายดังกล่าวก็คือการระบุว่า “โดยที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีปัญหาความ มั่นคงของชาติและความไม่สงบในพื้นที่ที่ก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้านอย่างกว้างขวาง ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีการปฏิบัติงานอย่าง บูรณาการและเป็นเอกภาพโดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการอันจะทำให้สามารถบรรลุ ผลในการขจัดหรือลดปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดความสงบสุขในพื้นที่ ความปลอดภัยในชีวิตและความเป็น อยู่ของประชาชน เกิดความเชื่อมั่นแก่ประชาชนตลอดจนมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม” ดังนั้น คำว่าบูรณาการ เอกภาพและประสิทธิภาพเป็นคำที่สำคัญใน นโยบายนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสันติสุขอย่างยั่งยืน
อีกด้านหนึ่ง ในแผนบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรมของชาติในปี 2560-61 รัฐบาลมุ่งจะเพิ่มความสามารถในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการและคุณภาพชีวิตของประชาชนมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมและชุมชนในเรื่องสำคัญตามนโยบายรัฐบาล เพื่อให้มีข้อเสนอแนะในการพัฒนาในพื้นที่ชุมชนและ สังคม รวมทั้งข้อเสนอแนะในการเพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน การวิจัยและพัฒนาในประเด็นสำคัญ ด้านความมั่นคง สังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งการจัดการความรู้การวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและสังคม เป้าหมายทั้งหมดนี้นำไปสู่ข้อเสนอของโครงการวิจัยท้าทายไทยและโครงการวิวิจัยมุ่งเป้า
ดังนั้น การบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาและการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงเป็นกระบวนการและผลลัพธ์ที่พึง ปรารถนาเพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และเป็นวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการท้าทายไทยเพื่อการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากวิสัยทัศน์ของกรอบยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปีของรัฐบาลที่ ตั้งไว้ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2579 เพื่อให้ประเทศไทยเป็น “ประเทศพัฒนาแล้วอย่างมั่นคง มั่งคั่งและ ยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ตัวแบบการสร้างองค์ความรู้ท้าทายไทยในที่นี้ก็เพื่อการสร้างผลลัพธ์สุดท้ายของโครงการวิจัย (Outcome) ซึ่งก็คือการเพิ่มระดับความสามารถในการแข่งขันของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ประชาชนตลอดจนมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางด้าน เศรษฐกิจและสังคม
การสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้กับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้ความรู้นั้นจะได้มาด้วย การสร้าง พื้นที่ซึ่งประชาชนทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการสร้างสันติสุข ทั้งภาควิชาการ ภาคประชาสังคมและภาครัฐ มีการสื่อสารระหว่างกันด้วยความเชื่อมั่น การสร้าง พื้นที่ปลอดภัยและพื้นที่กลางจึงอาศัยสองส่วนคือกระบวนการสื่อสารเพื่อสันติสุขและกิจกรรมภาควิชาการ ภาคประชาสังคมและภาครัฐในความรู้ทั้งในด้านสันติภาพ/สันติสุข การมีส่วนร่วมในทาง การศึกษา กิจกรรมในทางสังคมวัฒนธรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การสร้างพื้นที่กลาง และพื้นที่ปลอดภัยในด้านต่างๆ จึงเป็นกระบวนการ (Processes) เพื่อให้เกิดความสามารถในการ แข่งขัน
กิจกรรมความรู้ที่สร้างกระบวนการดังกล่าวข้างต้นมีสามองค์ประกอบคือองค์ประกอบในด้านความมั่นคงและการเมือง (Security and Politics) องค์ประกอบด้านความมั่งคั่ง (Economic Wellbeing) และองค์ประกอบในด้านความยั่งยืน (Sustainability) องค์ประกอบทั้งสามด้านเป็นกิจกรรมในการ ศึกษาและโครงการวิจัยต่างๆเช่นการสร้างสันติภาพ การปกครองท้องถิ่น การจัดการความขัดแย้ง การเยียวยา การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแบบยั่งยืน การพัฒนาในด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรมและ การท่องเที่ยว และการสื่อสารสันติภาพ เป็นต้น งานและกิจกรรมในด้านต่างๆ (Works&Activities) นี้จะถือเป็นผลผลิตของโครงการ (Outputs) ที่จะมีการบูรณาการเพื่อผลักดันขับเคลื่อนกระบวนการ สมานฉันท์/สันติภาพ/สันติสุข (Reconciliation and Peace Processes) ให้เกิดพื้นที่กลางหรือพื้นที่ ปลอดภัยซึ่งจะทำให้เกิดผลลัพธ์ (Outcomes) คือการสร้างความสามารถในการแข่งขันของพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับ | รหัสอ้างอิง | รหัสโครงการ | ชื่อโครงการ | หัวหน้าโครงการย่อย | :: |
---|---|---|---|---|---|
1 | 21019 | PPN610631d | การศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ในกระบวนการสร้างสันติภาพ : กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้และจังหวัดอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย | นางฟารีดา ปันจอร์ สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตปัตตานี |
|
2 | 21012 | PPN610631a | การศึกษาความสัมพันธ์ของการเกิดเหตุความรุนแรงที่ส่งผลต่อสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ | นางสาวสุวรา แก้วนุ้ย สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตปัตตานี |
|
3 | 21003 | PPN610631b | การสื่อสารสาธารณะเพื่อแปรเปลี่ยนความขัดแย้งในกระบวนการสันติภาพของจังหวัดชายแดนภาคใต้ | ผศ.ดร.กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร |
|
4 | 20906 | PPN610631c | บทบาทนักการเมืองระดับท้องถิ่นในเขตพื้นที่ความรุนแรงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ | นายเอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ |