
งานมหกรรมสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้ 2568 (Patani Peace Festival 2025)
“หนึ่งเดียวเพื่อสันติภาพ” Solidarity for Peace * Bersatu Untuk Damai
หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดความรุนแรงมาอย่างยาวนานของทุกฝ่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 - 2568 ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในหลายๆ ด้าน ในขณะเดียวกันสภาพปัญหาทางสังคมที่ประดังเข้ามาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขเยียวยาอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ปัญหารายได้ประชาชน ปัญหาการค้ายาเสพติด ปัญหากิจกรรมผิดกฎหมายอื่นๆ รวมทั้งปัญหาการคอรัปชั่นในระบบ ล้วนมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนโดยรวมและในการบริหารจัดการปกครองบ้านเมืองให้เป็นปกติสุขเพื่อประชาชน ทั้งหมดนี้เป็นวาระที่ทุกคนต้องมาร่วมกันคิดร่วมกันแก้ไข ไม่ใช่เป็นภาระหน้าที่เฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี แต่รวมถึงประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ ด้วย
ที่ผ่านมาหลายๆ ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการและภาคประชาชนใช้ความพยายามที่ยาวนานในการเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติ เพื่อเป็นทางออกในการยุติความขัดแย้งในรูปแบบต่างๆ ตามที่ตนเองสามารถมีส่วนร่วมและแสดงบทบาทได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยิ่งใช้เวลายืดนานออกไป ยิ่งสะสมผลกระทบต่อประชาชนมากขึ้นเท่านั้น
ในบทบาทของภาคประชาสังคม (civil societies) มีการรวมตัวขึ้นเป็นองค์กรต่างๆ ที่หลากหลายจำนวนมาก ในแนวทางเชิงสันติวิธี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่ระดับเด็กและเยาวชน องค์กรเชิงประเด็นต่างๆ จนกระทั่งถึงกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ ได้ลุกขึ้นมาทำกิจกรรมเพื่อการเยียวยา การพัฒนาและหาทางออกสำหรับสถานการณ์ที่ยังมองไม่เห็นทางคลี่คลายที่ชัดเจนของรัฐบาลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ภาคประชาสังคมจึงเป็นต้นทุนที่สำคัญ แต่อย่างไรก็ตามความพยายามเหล่านี้จะมีพลังขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพอย่างมหาศาล ก็ต่อเมื่อได้กำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกัน เดินไปในทิศทางเดียวกันที่เหมาะสม มีประชาชนให้การสนับสนุนอย่างทั่วถึง ในขณะที่ฝ่ายรัฐและตัวแสดงหลัก (Actor) ให้การสนับสนุนการขับเคลื่อนของภาคประชาสังคมให้มีความต่อเนื่องและมีการติดตามอย่างใกล้ชิด มีความเป็นเอกภาพที่ชัดเจน
ในโอกาสครบรอบ 21 ปีของสถาการณ์ความขัดแย้งและ 12 ปีของกระบวนการเจราสันติภาพ ภาคประชาสังคมและนักวิชาการจึงได้ร่วมกันจัดงานมหกรรมสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้ “หนึ่งเดียวเพื่อสันติภาพ” Solidarity for Peace หรือ Bersatu untuk Damai เพื่อแสดงพลังร่วมกันนำเสนอทิศทางการสร้างสันติภาพที่ประชาชนต้องการ และให้ภาครัฐบาลได้แสดงเจตจำนงทางการเมืองที่แน่วแน่ นำพากระบวนการสันติภาพนี้ไปสู่จุดมุ่งหมายที่ทุกฝ่ายมีทางออกในการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
วัตถุประสงค์
- เพื่อผลักดันโต๊ะเจรจาให้เป็นวาระสำคัญในกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานีอย่างเป็นรูปธรรม
2. เพื่อรวบรวมข้อเสนอจากองค์กรภาคประชาสังคมทุกภาคส่วนไปสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3. เพื่อให้ความรู้เรื่องกระบวนการสันติภาพตามบทบาทหน้าที่ในแต่ละภาคส่วน
วัน เวลา และสถานที่จัดงาน
วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 สถานที่จัดงาน ณ บักกะห์แลนด์ ฟาร์ม แอนด์ รีสอร์ท ต.ดอนรัก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
เป้าหมายผู้ร่วมงาน
จำนวน 1,000 คน จากสมาชิกองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ จำนวน 42 องค์กร
ประธานและรองประธานจัดงาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี และอาจารย์แวรอมลี แวบูละ
กองเลขานุการ/ประสานงาน
- สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- สมาคมเพื่อสันติภาพภาคประชาชน (GDR-Gerakan Damai Rakyat)
- สมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา
กำหนดการ
งานมหกรรมสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้ 2568 (Patani Peace Festival 2025)
“หนึ่งเดียวเพื่อสันติภาพ” Solidarity for Peace * Bersatu untuk Damai
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00 - 16.30 น.
ณ บักกะห์แลนด์ ฟาร์ม แอนด์ รีสอร์ท ต.ดอนรัก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
09.00 - 10.00 น. ลงทะเบียนและเยี่ยมชมบูธจัดแสดง
10.00 - 10.05 น. อัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน และทำสมาธินึกถึงสิ่งที่แต่ละคนนับถือ
10.05 - 10.15 น. กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน โดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความขัดแย้งและสันติศึกษา สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ และในฐานะประธานจัดงานฯ
10.15 – 10.30 น. การแสดงปัญจักสีลัต/มโนราห์ป่า
10.30 – 10.40 น. กล่าววัตถุประสงค์ โดย นายแวรอมลี แวบูละ นายกสมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา นายกสมาคมเพื่อสันติภาพภาคประชาชน และในฐานะรองประธานจัดงานฯ
10.40 – 11.30 น. กล่าวปาฐกถา เรื่อง บทบาทของภาคประชาชนในการหนุนเสริมการสร้างสันติภาพ โดย Cikgu MOHD AZMI BIN ABD HAMID ประธานสภาที่ปรึกษาองค์กรอิสลามแห่งมาเลเซีย (Malaysian Consultative Council of Islamic Organisation : MAPIM)
11.30 – 11.40 น. ประมวลวีดีโอคณะทำงานมหกรรมสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้ ยื่นหนังสือถึง
- น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
- ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษาประธานอาเซียน
11.30 - 12.00 น. นำเสนอข้อเสนอต่อกระบวนการสร้างสันติภาพ โดยองค์กรภาคประชาสังคม 42 องค์กร
12.00 - 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน/ประกอบศาสนกิจ
13.30 - 16.00 น. กิจกรรมเสวนา “ทางแพร่งของการสร้างสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี:
ถอดบทเรียนสันติภาพสากล หรือสันติภาพแบบไทย (66/23)”
วิทยากร:
1. ดร.พลเทพ ธนโกเศศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
2. ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้และ อาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4. ดร.รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช อาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
5. คุณอาเต็ฟ โซ๊ะโก ประธาน The Patani
6.คุณตูแวดานียา มือรีงิง ผู้สื่อข่าวทีวี 3 มาเลเชียประจำประเทศไทย
7. คุณอัญชนา หีมมิหน๊ะ นายกสมาคมกลุ่มด้วยใจ
ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.สมัชชา นิลปัทม์ และคุณตูแวดานียา ตูแวแมแง
16.00 - 16.15 น. ขมวดมุมมอง/ทิศทางขบวนสันติภาพชายภาคประชาชนชายแดนใต้/ปาตานี โดย คุณจำนงค์ จิตรนิรัตน์ นักพัฒนาเอกชน
16.15 - 16.30 น. กล่าวปิดงาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา กูใหญ่ ผู้อำนวยการสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พิธีกรเวทีตลอดงานโดย อิมรอน ซาเหาะ และ รอฮอานี จือนารา
หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
องค์กรร่วมจัดมหกรรมสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้
- สมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา (KTA)
- สมาคมเพื่อสันติภาพภาคประชาชน (GDR-Gerakan Damai Rakyat)
- สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (CSCD-PSU Pattani)
- สมาคมด้วยใจเพื่อการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (Duayjai Association)
- สถาบันปาตานีเพื่อการวิจัยและพัฒนามนุษย์ (Insani)
- The Patani
- มูลนิธิศูนย์กลางอิสลามเพื่อการพัฒนายะลา
- คณะทำงานยุทธศาสตร์การเมืองและสันติภาพ สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (CAP-PEACE)
- สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค
- สมาคมสภาประชาสังคมชายแดนใต้
- สำนักข่าวอามาน Aman news
- สมาคมศิษย์เก่าบัณทิตอาสา
- แกนนำตำบลบ้านนอก
- สมาคมเพื่อคนพิการจังหวัดชายแดนภาคใต้
- สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข
- วิทยาลัยประชาชน (People's college)
- สมาพันธ์พุทธชายแดนใต้
- กลุ่มบ้านบุญเต็ม
- เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ B4P
- สมาคมฟ้าใสส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนชายแดนใต้
- สมาคมประชาสังคมนราธิวาส
- ศูนย์สันติวิธีชายแดนใต้ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศูนย์ประสานงานสถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยฟาตอนี
- มูลนิธิ อาจารย์ฮัจยีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา
- สภาเครือข่ายปัญญาชนชายแดนใต้ (INC)
- กลุ่มปัญญาชนเพื่อการพัฒนาชุมชน (PADI)
- มูลนิธิความร่วมมือสันติภาพ (PRC)
- มูลนิธิศูนย์ประสานงานตาดีกาจังหวัดชายแดนใต้ (PERKASA)
- องค์กรอิสลามแห่งประเทศมาเลเซีย (MAPIM)
- มูลนิธิศักยภาพชุมชน
- The poligent news
- สถาบันเพื่อการพัฒนาและการศึกษาปาตานี (IPIF)
- มูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข
- สมาคมเครือข่ายผู้สูงอายุจังหวัดปัตตานี
- สานสายใยวัฒนธรรม หัวใจเดียวกัน
- MOJO ชายแดนใต้
- เครือข่ายอามาน-ปาตานี
- สมาคมเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด
- สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้
- The PEN
- คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- คณะทำงานแลต๊ะแลใต้ Thai PBS