วันที่ 9-10 กรกฎาคม 2563 ตัวแทนสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เดินสายมอบรายงาน “ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (PEACE SURVEY) ครั้งที่ 5” แด่องค์กรเครือข่ายวิชาการ PEACE SURVEY เพื่อเผยแพร่ยังผู้สนใจต่อไป โดยจะทำการมอบ/จัดส่งไปยังองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์เพื่อหนุนเสริมการสร้างสันติภาพในพื้นที่ชายแดนใต้ต่อไป
สำหรับท่านที่สนใจอ่านผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ PEACE SURVEY ครั้งที่ 5
คลิ๊ก https://cscd.psu.ac.th/th/node/229
โดยองค์กรเครือข่าย 24 องค์กร ประกอบด้วยสถาบันวิชาการและองค์กรภาคประชาชนจากทั้งในและนอกพื้นที่ ดังนี้
- สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
- สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
- คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
- ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการสื่อสารสันติภาพ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
- สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
- สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
- สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- สภาประชาสังคมชายแดนใต้
- ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
- ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ
- ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ
- เครือข่ายชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา
- วิทยาลัยประชาชน