เสวนาสาธารณะ "Transitional justice กับการป้องกันการทรมานและอุ้มหาย"

Imron

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซาเทิร์นวิว จังหวัดปัตตานี กลุ่มด้วยใจร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและองค์กรเครือข่าย ได้จัดกิจกรรม วันต่อต้านการทรมานสากลกับความรับผิดชอบโดยรัฐ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเรื่องราวของการทำงานเพื่อยุติและการป้องกันไม่ให้เกิดการซ้อมทรมานรวมถึงการผลักดันกฎหมายในระดับประเทศร่วมกับนักการเมือง องค์กรต่างๆ ที่ทำงานในพื้นที่และส่วนกลาง ภายในงานมีการละหมาดฮายัดนำโดยผู้นำศาสนา นิทรรศการ เสียงจากภาพวาด ของผู้ถูกกระทำจากการทรมาน การถ่ายรูปแปรอักษร และวงเสวนาแลกเปลี่ยนจำนวน 2 วง

วงเสวนาในช่วงเช้าแลกเปลี่ยนในหัวข้อ Transitional justice กับการป้องกันการทรมานและอุ้มหาย

วิทยากร โดย

คุณอิมรอน ซาเหาะ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอกรอบแนวคิดเรื่อง Transitional Justice กับกระบวนการสันติภาพ

ผศ.มูฮัมหมัดรอฟีอี มูซอ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอ อุปสรรคในการนำคนผิดมาลงโทษในจังหวัดชายแดนใต้เกิดจากอะไร และกลไกใดที่จะช่วยไม่ให้ผู้กระทำทรมานกระทำผิดซ้ำได้อีก

คุณกฤษฎา งามสินจำรัส คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นำเสนอประเด็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีบทบาทอย่างไรในการป้องกันการทรมานและอุ้มหาย

ตัวแทนศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 จิตแพทย์ที่ทำงานกับผู้เสียหายจากการทรมาน

ตัวแทนครอบครัวผู้เสียหายจากการทรมาน

ตัวแทนครอบครัวผู้เสียหายจากการอุ้มหาย

ดำเนินรายการ โดย อาจารย์ดุษณ์ดาว เลิศพิพัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รับชมย้อนหลัง คลิ๊ก ที่นี่

ส่วนวงเสวนาช่วงบ่าย เป็นเสวนาแลกเปลี่ยนในหัวข้อ บทบาทของนักการเมืองกับ พรบ.ทรมานและอุ้มหาย ความรับผิดชอบโดยรัฐในการป้องกันการทรมานและอุ้มหาย

วิทยากร โดย

คุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ  ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

คุณอดิลัน อาลีอิสเฮาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชารัฐ

คุณเบญจา แสงจันทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล

คุณนิกามา สุไลมาน ยุติธรรมจังหวัดปัตตานี

ดำเนินรายการ โดย อาจารย์ดุษณ์ดาว เลิศพิพัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รับชมย้อนหลัง คลิ๊ก ที่นี่

ขอบคุณภาพสวยๆ จาก Duayjai Group กลุ่มด้วยใจ