CSCD-IPS จัดประชุมแผนงานวิจัยหารือแผนการดำเนินงานภายใต้การระบาดของโรคโควิด-19

วช. 63

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา จัดการประชุมชุดโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัย เรื่อง "การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยสร้างนวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมตามแนวทางสันติสุขเพื่อความมั่นคงอย่างยั่งยืน" ซึ่งมี ผศ.ดร.กุสุมา กูใหญ่ รองผู้อำนวยสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้อำนวยการแผนงาน เพื่อหารือเรื่องปัญหาและข้อจำกัดของการดำเนินโครงการวิจัยภายใต้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ตลอดจนร่วมวางแผนการดำเนินโครงการวิจัยในช่วงเวลาที่เหลือเพื่อที่แต่ละโครงการวิจัยจะสามารถเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ ทั้งนี้ 8 โครงการวิจัยย่อยที่เข้าร่วมประชุมหารือประกอบไปด้วย

1. การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจในการพัฒนาอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดย ผศ.ดร.ชาคร ประพรหม และ อ.เจษฎา ไหลภาภรณ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

2. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดย ว่าที่ร้อยตรีหญิงวาสนา คงขันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะ

3. เครือข่ายชุมชนเยียวยาจิตใจด้วยการประยุกต์ศาสตร์แห่งสมองเพื่อส่งเสริมสุขภาวะบุคคลและความผาสุกชุมชนจากผลกระทบสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนใต้ โดย ผศ.ดร.ปรียา แก้วพิมล คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี และคณะ

4. การวิจัยและพัฒนาเยียวยาสมานฉันท์และสร้างสรรค์ชุมชนสุขภาวะชายแดนใต้ โดย รศ.ดร.ซุกรี หะยีสาแม, ดร.มายือนิง อิสอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ

5. การพัฒนาการคิดเชิงสมานฉันท์ของผู้เรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดย ดร.ธีระยุทธ รัชชะผศ.ดร.จิระวัฒน์ ตันสกุล และ ดร.ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ คณะศึกษาศาสตร์

6. การพัฒนารูปแบบการยกระดับผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนขยายโอกาส: กรณีศึกษานวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) โดย ดร.รัชดา เชาวน์เสฏฐกุล และคณะ

7. การพัฒนาเยาวชนตามแนวทางศิลปะเพื่อสันติภาพ โดย ผศ.ชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์ และ อ.รุซณี ซูสารอ คณะศึกษาศาสตร์

8. การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์เพื่อการสร้างความเข้าใจในสังคมพหุวัฒนธรรมและสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้  โดย ผศ.ดร.กุสุมา กูใหญ่ และ ดร.สมัชชา นิลปัทม์ คณะวิทยาการสื่อสาร