วันนี้ (18 ก.พ. 2564) ที่ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อ.เมือง จ.ยะลา สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ลงนาม MOU โครงการวิจัยพัฒนาต้นแบบนโยบายกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเชิงสันติภาพ ที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้โครงการวิจัย การพัฒนาองค์ความรู้และต้นแบบนโยบายบูรณาการด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สันติภาพ และยุติธรรม เพื่อสร้างสมานฉันท์และการพัฒนาที่ยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม - ทุนงานวิจัยพื้นฐาน (FF) ปีงบประมาณ 2564 โดยมี รศ.ดร. บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ ผู้อำนวยการสถาบันสันติศึกษา พร้อมด้วย ผศ.ดร. รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี หัวหน้าชุดโครงการวิจัยการพัฒนาองค์ความรู้และต้นแบบนโยบายบูรณาการด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สันติภาพ และยุติธรรม เพื่อสร้างสมานฉันท์และการพัฒนาที่ยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผศ.ดร. จิรภรณ์ มั่นเศรษฐวิทย์ หัวหน้าโครงการวิจัยย่อยที่ 3 โครงการวิจัยพัฒนาต้นแบบนโยบายกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเชิงสันติภาพที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้ลงนาม พร้อมกันนี้ได้ร่วมลงนามระดับเครือข่าย 16 หน่วยปฏิบัติการวิจัย ประกอบด้วย 13 โรงเรียน 3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
โดยตัวแทนเครือข่าย 16 หน่วยปฏิบัติการวิจัย ประกอบด้วย จังหวัดยะลา จำนวน 9 แห่ง จังหวัดปัตตานี จำนวน 3 แห่ง จังหวัดนราธิวาส จำนวน 2 แห่ง และจังหวัดสงขลา จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
จังหวัดยะลา 9 แห่ง ได้แก่ 1. ผศ.ดร.มูหัมมัดตอลาล แกมะ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 2. นางอรวรรณ เรืองหิรัญ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเบตง (สุภาพอนุสรณ์) อำเภอเบตง จังหวัดยะลา 3. นายสุหริ ทิพย์มณี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านด่านสันติราษฏร์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา 4. นายชนกนันท์ พะสุโร ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านจาเราะปะไต อำเภอเบตง จังหวัดยะลา 5. นางพัชรี เจ๊ะและ ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๙๔ (บ้านบ่อน้ำร้อน) อำเภอเบตง จังหวัดยะลา 6. นางมารีน่า สะนี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านศรีท่าน้ำ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา 7. นางสาวไลลา สะมะแอ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหน้าถ้ำ (พุทธไสยานุสรณ์) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 8. นางสาว ฟารีด๊ะ รอแม ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลตำบลบาลอ อ.รามัน จังหวัดยะลา 9. นางรอฟีอา ประดู่ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
จังหวัดปัตตานี จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1. นางมาซีเตาะห์ สุหลง รองผู้อำนวยการ โรงเรียนส่งเสริมอิสลามศึกษา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 2. นางสาว นายียะห์ เจะหะ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 3. นางสาว เกศริน สาเมาะยูโสะ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
จังหวัดนราธิวาส จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1. นางสาว สุพิศ มุสิกะชะนะ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเจ๊ะยอ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส 2.นางสาว รดี นฤมิตสุธน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกยามู อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดสงขลา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1. นางวรัญญา เฟื่องฟูขจร ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลปาดังเบซาร์ ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 2. นางสาว สาวิตรี แก้วจินดา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเกาะแลหนัง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
นอกจากนี้ ในโครงการวิจัยดังกล่าวนี้ยังมีคณะทำงานอีก 3 ท่าน ประกอบไปด้วย รศ.ดร.ศิษฏ์ธวัช มั่นเศรษฐวิทย์ ในฐานะนักวิจัยร่วมในโครงการวิจัยฯ ดร.พระโสภณธรรมมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดยะลา เจ้าอาวาสวัดนิโรธสังฆาราม และ พันเอกชลัช ศรีวิเชียร ผู้ช่วยเลขานุการคณะประสานงานระดับพื้นที่ สำนักงานเลขานุการคณะประสานงานระดับพื้นทึ่ (สล.3) ค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ที่ปรึกษาโครงการวิจัยฯ
ผศ.ดร.จิรภรณ์ มั่นเศรษฐวิทย์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า การลงนามครั้งนี้เพื่อพัฒนาสมรรถนะเชิงสันติภาพให้กับเด็กปฐมวัย ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ด้วยกระบวนการจัดกระบวนการเรียนรู้ ในระดับโรงเรียนที่เปิดสอนระดับปฐมวัย และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาตั้งแต่ระดับผู้บริหารสถานศึกษา ครูปฐมวัย ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง เพื่อช่วยให้การพัฒนาสมรรถนะเชิงสันติภาพของเด็กปฐมวัย บรรลุตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันสาขาการศึกษาปฐมวัย ซึ่งได้เปิดสอนรายวิชาในหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี โดยมีรายวิชา สันติศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ได้ดำเนินการมาแล้ว 5 ปี นักศึกษารุ่นปัจจุบัน ได้เรียนรู้การพัฒนาสันติภาพที่เริ่มต้นจาก สันติภาพในการดำรงตน ที่จะให้กายใจสุขสงบ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการฝึกหัดเด็กปฐมวัยให้มีความสมดุลกายใจ เพื่อเรียนรู้การอยู่กับตนเองอย่างสันติสุข การอยู่ร่วมกับผู้อื่นท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การอยู่ในสังคมวิถีชีวิตใหม่ และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี