CSCD ในมิติใหม่ของสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้กับการปรึกษาหารือสาธารณะของภาคประชาสังคมทุกฝ่าย

EU

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ ห้องศรีนฆรา ชั้น 3 โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อ.เมือง จ.ปัตตานี สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ร่วมกับเครือข่ายชุมชนศรัทธา (Kampung Taqwa) และ Minority Rights  Group International ได้จัดการประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ การสร้างศักยภาพในการปรึกษาหารือสาธารณะและการหนุนเสริมกระบวนการพูดคุยสันติภาพในท้องถิ่นชายแดนใต้/ปาตานี

โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก European Union ให้ดำเนินโครงการวิจัย “Inclusive Peacebuilding in Thailand's Southern Border Provinces” ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2568) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการปกป้องคุ้มครองอย่างเต็มที่ต่อสิทธิของชุมชนที่ถูกทำให้เป็นชายขอบในภาคใต้ของประเทศไทย: พื้นที่ชายแดนใต้/ปาตานี และเน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเปราะบางในพื้นที่

ทั้งนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการการสร้างศักยภาพในการปรึกษาหารือสาธารณะและการหนุนเสริมกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ในท้องถิ่นชายแดนใต้/ปาตานี จัดโดย สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ร่วมกับเครือข่ายชุมชนศรัทธา (Kampung Taqwa) และ Minority Rights  Group International เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Inclusive Peacebuilding in Thailand’s Southern Border Provinces สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในกระบวนการสันติภาพจากคนในเพื่อที่จะสร้างการมีส่วนร่วมของมีส่วนได้ส่วนเสียที่ระดมพลังจากกลุ่มคนรากหญ้า ภาคประชาสังคม ผู้นำศาสนาประเพณี เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและผู้นำระดับชาติ การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวถือเป็นโอกาสของการสร้างความเข้มแข็งเพื่อการพัฒนาทางเลือกในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับท้องถิ่น

กล่าวคือ เป็นเครือข่ายของภาคประชาสังคมในระดับรากหญ้าที่มีการถักทอเข้าด้วยกัน ผ่านกลไก (sub-grading mechanism) ในการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจกันในพลวัตของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาไกล่เกลี่ย การพูดคุยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นความไว้วางใจ รวมถึงกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะเพราะหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้

คือการสร้างความเชื่อมั่นระหว่าง ชุมชนท้องถิ่นกับรัฐและระหว่างชุมชนด้วยกันที่เคยมีภาพของมายาคติที่สองฝ่ายขัดแย้งกันในระดับย่อย ซึ่งกระทบต่อสายสัมพันธ์ของสังคม เศรษฐกิจในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มคนชายขอบ/เปราะบาง เพื่อที่จะตอบคำถามนี้จำเป็นต้องมีการรับฟังเสียงและความต้องการของกลุ่มคนต่างๆ ที่มีความหลากหลายและพอที่จะทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ในกระบวนการสันติภาพ

ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น วงเสวนา ความคืบหน้าการพูดคุยสันติภาพกับความท้าทายของกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะ (ถ่ายทอดสด) วิทยากรโดย

1. อาจารย์อับดุลการีม อัสมะแอ      ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้    

2. นายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ         ประธานสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ

3. นายแวรอมลี แวบูละ               นายกสมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา

 

หรือวงเสวนาการประชุมเชิงปฏิบัติการ การสร้างศักยภาพในการปรึกษาหารือกับชุมชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี  วิทยากร โดย

1. นายแวอิสมาแอล์ แนแซ            People College

2. นางโซรยา จามจุรี                   Civil Women

3. นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ         กลุ่มด้วยใจ

4. อาจารย์ธรรมศาสตร์ โสตถิพันธุ์   สถาบันสันติศึกษา

ดำเนินรายการ โดย รอมฎอน ปันจอร์