จินตธรรม: บทบาทของการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ และสื่อเพื่อสันติภาพในชายแดนใต้

Aj.koo

จินตธรรม: บทบาทของการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ และสื่อเพื่อสันติภาพในชายแดนใต้

 

ผศ.ดร.กุสุมา กูใหญ่

สถาบันสันติศึกษา และ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผศ.ดร.สมัชชา นิลปัทม์

คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทและศักยภาพของนักสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ แก่นสาระ รูปแบบและเนื้อหาสารของสื่อเชิงสร้างสรรค์เพื่อแปรเปลี่ยนความขัดแย้งและสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ใช้ระเบียบวิธีการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย เยาวชน ศิลปิน นักออกแบบ นักสื่อสาร และนักกิจกรรมทางสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

          ผลการวิจัยพบว่า ในพื้นที่มีความเคลื่อนไหวด้านการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เพื่อเปลี่ยนแปลงผลกระทบทั้งในเชิงบวกและลบที่เกิดกับปัจเจกบุคคลและชุมชนอันเป็นผลมาจากความขัดแย้ง มีการพูดคุยถกเถียงและแสวงหาความร่วมมือในการลดผลกระทบเชิงลบจากความขัดแย้ง และเพิ่มศักยภาพของบุคคลให้เติบโตทั้งทางกายภาพ อารมณ์ ทัศนคติต่อความขัดแย้งเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาในกระบวนการสร้างสันติภาพ มีการใช้การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ในการถักทอสายสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่ห่างเหินและสร้างความหวังในอนาคตร่วมกัน ใช้การสื่อสารเพื่อย้ำให้คนในสังคมตระหนักว่า เสรีภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนใฝ่หา การยอมรับ อัตลักษณ์และการเคารพในความแตกต่างเป็นสิ่งที่สังคมสามารถสร้างได้จริง

ในการสร้างสันติภาพ อย่างไรก็ตาม จินตนาการและการสร้างสรรค์ยังถูกจำกัดโดยโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงโครงสร้างอำนาจซึ่งกลายเป็นปัจจัยกำหนดบทบาทของประชาชนในกระบวนการสร้างสันติภาพ

          ข้อเสนอจากงานวิจัยนี้คือ สันติภาพชายแดนภาคใต้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสังคมส่งเสริมการเปิดพื้นที่แห่งความสร้างสรรค์และพื้นที่ของเสรีภาพในการแสดงออก การให้โอกาสให้ผู้คนในพื้นที่ได้คิดและออกแบบอนาคตของตนเองด้วยความสร้างสรรค์ การหนุนเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างสันติภาพ และสนับสนุนกิจกรรมและแนวทางการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ให้เติบโตและเบ่งบาน

 

ที่มา วารสารความขัดแย้งและสันติศึกษา สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์